ข้อควรรู้เกี่ยวกับกระเบื้อง และ วิธีการเลือกซื้อกระเบื้อง ให้ถูกใจและใช้งานได้ดี
1. คุณสมบัติของกระเบื้อง (homogeneous)
จุดเด่นของกระเบื้อง (homogeneous) คืออัตตราการซึมน้ำจะอยู่ต่ำกว่า 0.5 % กระเบื้องมีความแข็งแรง ทนทาน ทนรอยขีดข่วน มากว่าวัสดุประเภทอื่นๆ เช่นหินอ่อน หินธรรมชาติ ไม้จริง ไม้ลามิเนต กระเบื้องยาง ฯลฯ และมีลวดลายที่สวยงาม กระเบื้องจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับการใช้งานตกแต่ง ภายใน ภายนอก ทั้งพื้นและผนัง รวมทั้งบริเวณอื่นๆ ที่โดนน้ำเช่น ภายในห้องน้ำ ผนังครัว ห้องครัว
2. กระเบื้อง (homogeneous) ต่างจากกระเบื้อง เซรามิค อย่างไร ?
ทั้งแกรนิตโต้ และ เซรามิค ใช้วัตถุดิบประเภทเดียวกัน คือเนื้อดิน porcelain ส่วนที่ต่างกันคือกรรมวิธีการผลิต กระเบื้องHOMOGENEOUS จะถูกเผาในอุณหภูมิ ที่สูงกว่ามาก ทำให้แข็งแรงกว่า ซึมน้ำน้อยกว่า 0.5% และมีความทนทานมากกว่า กระเบื้องเซรามิค ซึ่งกระเบื้องเซรามิคจะมีราคาถูกกว่า แต่ไม่ทนทานเท่า และมีอัจราการซึมน้ำสูงถึง 2-15% ส่วนใหญ่จึงเหมาะสำหรับการใช้งานติดตั้งผนังเท่านั้น โดย กระเบื้อง HOMOGENEOUS เหมาะแก่การใช้งานทั้งพื้นและผนัง
3. แล้วกระเบื้อง homogeneous มีแบบไหนบ้าง ?
ประเภทที่ 1 กระเบื้อง HOMOGENEOUS แบบ FULL BODY
ทำจากวัสดุหลักคือ พอร์ซเลน กระเบื้อง FULL BODY สีและลายอยู่ในเนื้อเดียวกันทั้งแผ่นกระเบื้อง
(+) ข้อดี คือแข็งแรง ทนทานกว่าประเภทอื่น เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ใช้งานหนัก
(--) ข้อเสียคือ มีลายให้เลือกน้อย เนื่องจาก ทำจากวัตถุดิบ ที่จำกัดเพื่อให้เกิดสีและลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น และกระเบื้อง FULL BODY ไม่ผ่านการเคลือบผิวให้เกิดลาย รูปแบบสีและลายของกระเบื้อง FULL BODY จึงจำกัด
(--) ราคาสูงกว่าประเภทอื่นๆ
ตัวอย่าง FULL BODY ของบริษัท บลู ไลน์ โมเสค แอนด์ ไทลส์ เช่น รุ่น MAYFAIR
ประเภทที่ 2 กระเบื้อง HOMOGENEOUS แบบ DOUBLE LOADING
กระเบื้อง DOUBLE LOADING ต่างจาก กระเบื้อง FULL BODY ตรงที่เนื้อกระเบื้องจะแบ่งเป็น 2 ชั้น โดยชั้นบน จะเป็นเนื้อพอร์ซเลน ผสมกับ เม็ดสี เพื่อให้เกิดลายสวยงาม ส่วนชั้นล่างจะเป็น เนื้อ porcelain ที่ไม่มีลายใดๆ วัสดุที่นำมาใช้ด้านล่างแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเกรด และคุณภาพของกระเบื้องที่ผลิตแต่ละรุ่น
(+) ข้อดี คุณภาพใกล้เคียงกับ กระเบื้อง FULL BODY ในขณะที่ราคานั้นถูกกว่า
(+) แข็งแรงทนทานเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ใช้งานหนัก ลักษณะและคุณภาพเหมือนกระเบื้อง FULLBODY
(--) ข้อเสียคือ มีลายให้เลือกน้อย เช่นเดียวกับกระเบื้อง FULL BODY กระเบื้อง DOUBLE LOADING ทำจากวัตถุดิบที่จำกัด การสร้างสีและลายกระเบื้อง ประเภท DOUBLE LOADING ไม่ผ่านการเคลือบผิวให้เกิดลาย รูปแบบ สีและลายของกระเบื้อง จึงจำกัด
ประเภทที่ 3 GLAZED PORCELAIN / COLOR BODY GLAZED PORCELAIN
ทำมาจากดินและวัตถุดิบอื่นๆ ใช้เทคนิคการผลิต ทำให้เกิดลาย และ texture บนผิวกระเบื้อง เช่นกระเบื้องลายไม้ กระเบื้องลายหินธรรมชาติ เมื่อทำให้เกิดลายตามที่ต้องการแล้ว จึงนำมาเผาด้วยความร้อนสูง COLOR BODY มาจากการผสมสีในเนื้อดินให้มีสีใกล้เคียงสีของลายกระเบื้องที่เคลือบด้านหน้ามากที่สุด
(+) ข้อดี ทำลวดลายได้หลายแบบ เช่น ลายไม้ ลายหินธรรมชาติ
(--) ข้อเสีย ลายเคลือบด้านหน้าของกระเบื้อง ทนน้อยกว่ากระเบื้องประเภท FULL BODY และ DOUBLE LOADING เนื่องจากใช้วิธีการสร้างลายที่ต่างกัน
ประเภทที่ 4 POLISHED GLAZED PORCELAIN
กระเบื้องเคลือบทำลวดลายก่อนเผา และนำมาขัดอีกครั้งนึง เพื่อให้เกิดความเงางาม ลายที่ได้ออกมาจะเป็นลายที่สวยงามมากกว่าลายที่เกิดจากการผสมของดินและเม็ดสีที่ใช่ในการผลิตของกระเบื้อง FULL BODY และ DOUBLE LOADING
(+) ข้อดี ทำลวดลายได้หลายแบบ เช่นกระเบื้องลายหินอ่อน หินธรรมชาติ
(+) ข้อดี เป็นกระเบื้องหน้าเงา ทำความสะอาดง่าย
(--) ข้อเสีย ความทนทานน้อยกว่ากระเบื้อง แบบ FULL BODY และราคาสูงกว่ากระเบื้องเงาแบบที่ผสมลายลงไปในเนื้อกระเบื้อง
4. เกรดคุณภาพ ของกระเบื้อง
เกรดของกระเบื้อง
กระเบื้องเกรด A และ เกรด B สังเกตได้จากข้างกล่องที่ติดสติกเกอร์ มาตราฐานอุตสาหกรรม โดยตัวย่อ
GLA หมายถึงกระเบื้องเคลือบ เกรด A
GLB หมายถึงกระเบื้องเคลือบเกรด B
UGLA หมายถึงกระเบื้องไม่เคลือบเกรด A
UGLB หมายถึงกระเบื้องไม่เคลือบเกรด B
โดยกระเบื้อง เกรด B จะมีคุณภาพต่ำกว่าเกรด Aในด้านต่างๆ เช่น ค่าการดูดซึมน้ำจะสูงกว่ามาก, ความทนทานต่อสารเคมีจะต่ำกว่า
กระเบื้องทั้งหมดที่จำหน่ายในประเทศไทย มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้หมายความว่ามีคุณภาพที่ลูกค้าพอใจทั้งหมด ผู้ซื้อควรตรวจสอบกระเบื้องว่ามีการโก่งงอหรือไม่ การตรวจสอบสามารถทำได้ทั้งสังเกตุข้างกระเบื้องด้วยตาเปล่า หรือโดยลองปูกระเบื้อง 1 กล่องใน LOT การผลิตนั้นๆ เพื่อดูเป็นตัวอย่างก่อน หรืตรวจสอบกับทางผู้ขายมีนโยบายเคลมสินค้าที่ไม่ได้มาตราฐานหรือไม่ อย่างไร